ทำไมจึงควรเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของ Parabens

ทำไมจึงควรเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของ Parabens

Parabens เป็นสารเคมีที่ถูกคิดค้นขึ้นเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุกันเสียอย่างแพร่หลาย เช่น ในเครื่องสำอาง แชมพูสระผม ครีมโกนหนวด ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ทางด้านยา มีการนำมาใช้เป็นวัตถุกันเสียในยาใช้ภายนอก, ยาฉีด นอกจากนี้ ยังถูกนำมาใช้เป็นสารกันเสียในอาหารด้วย เช่นในหมากฝรั่ง

 

ในระหว่างปี 2005-2006 ในสหรัฐอเมริกา CDC  ได้ทำการทดลองเพื่อหา parabens ในร่างกาย โดยการเก็บตัวอย่างปัสสาวะของผู้เข้าร่วมการทดลองมากกว่า 2500 ราย ที่มีอายุมากกว่า 6 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่พบว่ามี parabens ในปัสสาวะ และพบว่าในผู้หญิงมีปริมาณ parabens ในร่างกายมากกว่าผู้ชายหลายเท่าตัว อย่างไรก็ตามในการศึกษาดังกล่าวไม่ได้เชื่อมโยงไปถึงผลของ parabens ที่มีต่อสุขภาพแต่อย่างใด

USFDA ก็ยังคงให้ใช้ parabens เป็นวัตถุกันเสียในเครื่องสำอาง และในอาหาร โดยอาจใช้สารในกลุ่ม parabens ตัวเดียวหรือหลายตัวในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

 

Parabens สามารถก่อกวนการทำงานของฮอร์โมน estrogen โดยในหลายๆ การศึกษาพบว่า parabens อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม

  • Parabens ในปริมาณปกติ มีผลกระตุ้น estrogen receptor ในเซลล์เต้านม ทำให้เพิ่มการเจริญเติบโตของเซลล์เต้านม
  • Parabens ลด programmed cell death ซึ่งเป็นกระบวนการที่ร่างกายใช้ในการจัดการเซลล์ที่เสียหาย
  • เซลล์ที่สัมผัสกับ parabens เกินกว่า 20 สัปดาห์ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง (metastases)
  • Methylparaben อาจลดประสิทธิภาพของยา tamoxifen ที่มักจะถูกเลือกใช้เป็น chemotherapy ในการรักษามะเร็งเต้านม

 

ใครบ้างที่ควรระวัง parabens

สตรีมีครรภ์ เด็กในครรภ์ และเด็กๆ เป็นกลุ่มที่ต้องระวัง parabens มากที่สุด เนื่องจากเซลล์เต้านมอยู่ในช่วงที่ถูกรบกวนจาก parabens ได้ง่าย

ควรระมัดระวังการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก ใน EU มีการห้ามใช้ propylparaben และ butylparaben ในผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กในช่วงอายุ 0-3 ปี เช่น ครีมสำหรับทาผื่นแพ้ผ้าอ้อม และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ทาตัวเด็ก

 

ดูอย่างไรว่าผลิตภัณฑ์ที่คุณเลือกใช้ ไม่มี parabens

  • สังเกตุบนฉลากสินค้าที่มีคำว่า “ปราศจากพาราเบน” (paraben-free)
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี parabens เป็นส่วนผสม โดยมักจะใช้ชื่อส่วนประกอบดังต่อไปนี้
    • Methylparaben (methyl-4-hydroxylbenzoate)
    • Ethylparaben (ethyl-4-hydroxylbenzoate)
    • Propylparaben (propyl-4-hydroxylbenzoate)
    • Butylparaben (butyl-4-hydroxylbenzoate)

ต่อไปนี้เวลาซื้อเครื่องสำอาง เราก็สามารถอ่านที่ฉลากดูได้ง่ายๆ แล้วนะครับ สวยแล้วต้องสุขภาพดีด้วยครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *